ประมาท
เป้าหมาย
1. สามารถตรวจพบปัญหา อาการ เปลี่ยนแปลงของผู้คลอดได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา
2. ผู้คลอดได้รับการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ก่อนที่อาการจะเลวลง
1. ผลกระทบของพยาธิ สรีรภาพต่อการเกิดภาวะฉุกเฉิน วิกฤต อาการรบกวน ภาวะแทรกซ้อน ในผู้
คลอด เช่น ผู้คลอดที่มีโรคประจำตัว (DM HT เป็นต้น) ปัญหาHypovolumic shock, Eclampsia เป็นต้น
2. การช่วยเหลือภาวะฉุกเฉินในผู้คลอด
3. การวิเคราะห์และอ่านผลทางห้องปฏิบัติการ
ทักษะ
1. การคิดวิเคราะห์ แปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติ การ เชื่อมโยงภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน อาการรบกวน
ภาวะแทรกซ้อน
2. การคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ กำหนดเป้าหมาย แผนการเฝ้าระวัง การจัดการภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน ภาวะ
แทรกซ้อนอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์
3. การเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และทีมช่วยเหลือ จัดการภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน4. การสื่อสารในภาวะวิกฤต
ฉุกเฉิน
4. การจัดการภาวะ ช้อค ชัก และ การช่วยฟื้นคืนชีพ
ระดับและการอธิบาย
ระดับ1
สามารถสังเกต สอบถาม ติดตามเฝ้าระวังตาม อาการ อาการแสดง ที่ได้รับมอบหมายภายใต้การกำกับ
ดูแลของหัวหน้าทีม
ระดับ2
มีความสามารถตามระดับ 1 และสามารถสังเกต สอบถาม ติดตามเฝ้าระวังตาม อาการ อาการแสดง ที่ได้
รับมอบหมายประมวลข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่ ที่ชัดเจน พบจากการเฝ้าระวัง เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
จัดการแก้ปัญหา (Early detection) ตามแนวทางที่กำหนดสามารถจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ ช่วยชีวิต
ได้ ตามแนวทางที่กำหนด
ระดับ3
มีความสามารถตามระดับ 2 และมีความรู้ เข้าใจ ผลกระทบของพยาธิ สรีรวิทยา ต่ออาการ อาการแสดง
อาการรบกวน การเกิดภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน เชื่อมโยงการเฝ้าระวังที่กำหนดสามารถประมวลข้อมูลการ
เปลี่ยนแปลงที่ ที่ชัดเจน พบจากการเฝ้าระวัง เพื่อใช้ในการตัดสินใจจัดการแก้ปัญหา (Early detection)
ด้วยตนเองขอการปรึกษา ตัดสินใจรายงาน และจัดการเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสมสามารถ
เตรียม และปรับใช้อุปกรณ์ เครื่องมือการจัดการภาวะเร่งด่วน ฉุกเฉิน ได้อย่างเหมาะสม
ระดับ4
มีความสามารถในระดับ 3 และมีความรู้ เข้าใจ ผลกระทบของพยาธิ สรีรวิทยา ต่ออาการ อาการแสดง
อาการรบกวน การเกิดภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน และสามารถตัดสินใจเลือก / กำหนด / เปลี่ยนแปลง การเฝ้า
ระวังสามารถประมวลข้อมูลการเปลี่ยนแปลง ที่พบจากการเฝ้าระวัง ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถตัดสิน
ใจจัดการแก้ปัญหา (Early detection) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับ5
มีความสามารถในระดับ 4 และสามารถใช้ข้อมูลผลลัพธ์ การเปลี่ยนแปลง อาการ อาการแสดงของ
ผู้ป่วย ใช้ในการวางแผนการเฝ้าระวัง และการดูแลต่อเนื่องของทีมการพยาบาล และทีมสหสาขา
พัฒนามาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติ การเฝ้าระวัง ติดตามภาวะฉุกเฉิน วิกฤต อาการรวบกวน โดย
อาศัยข้อมูลผลการปฏิบัติงานในหน่วยงานเป็นที่ปรึกษา เป็นวิทยากร ถ่ายทอด ฝึกอบรมการดูแล
ภาวะฉุกเฉิน วิกฤตของผู้คลอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น