การดูแลหญิงตั้งครรภ์ระยะรอคลอด

 2.  การดูแลหญิงตั้งครรภ์ระยะรอคลอด


เป้าหมาย

1.  ประเมินภาวะปกติ และผิดปกติ  ความก้าวหน้าของการคลอดได้ถูกต้อง

2. ส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอดได้ถูกต้อง

3. ได้รับการเฝ้าระวังที่ใกล้ชิด ได้รับ Early detection ถูกต้อง  ทันเวลา

4. ช่วยเหลือแก้ไขภาวะผิดปกติทั้งของมารดา และทารกได้อย่างเหมาะสม

5. ได้รับการวินิจฉัย และเข้าสู่การดูแลระยะคลอดในเวลาที่เหมาะสม

6. ผู้คลอดและครอบครัวได้รับข้อมูลต่อเนื่อง


ความรู้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ในระยะรอคลอด

1. องค์ประกอบของการคลอด

2. กลไกการคลอด

3. การประเมิน และเฝ้าระวังความก้าวหน้าของการคลอด

4. ความผิดปกติ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ในระยะรอคลอด

5. การชักนำการคลอด /ใช้ยาเสริมการคลอด

6.  การบริหารยาและสารละลายที่ใช้ในระยะรอคลอด

7. การจัดการความเสี่ยงในระยะรอคลอด

8. มาตรฐานการดูแลหญิงตั้งครรภ์ และทารกในครรภ์ ระยะเจ็บจริง

9. การยับยั้งการคลอด


ทักษะ

1. การให้กำลังใจ การสื่อสาร ให้ข้อมูลผู้คลอด และญาติ / ครอบครัว

2. การตรวจครรภ์ และการวินิจฉัยความก้าวหน้าเข้าสู่การคลอด

3 .การคิดวิเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าระวัง และการวินิจฉัยปัญหาระหว่างการเฝ้าคลอด

4. การตัดสินใจวางแผน และจัดการให้การช่วยเหลือภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน

5. การบรรเทาอาการปวด และอาการรบกวนของผู้คลอดระหว่างรอคลอด

6.  การจัดการควบคุมความเสี่ยง

7. การสื่อสารกับแพทย์ เพื่อการจัดการปัญหาเร่งด่วน ฉุกเฉิน


ระดับและการอธิบาย

 ระดับ1

สามารถปฏิบัติการพยาบาลภายใต้การดูแล และคำแนะนำของหัวหน้าทีม ในเรื่องประเมิน เฝ้าระวังภาวะ

เสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนได้ ในรายที่ปกติ / ไม่ซับซ้อนขอความช่วยเหลือ แนะนำจากหัวหน้าทีมได้

อย่างเหมาะสมให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ / ผู้คลอด และญาติได้ ตามแนวทางที่กำหนด

ระดับ2

มีความสามารถระดับ 1  และสามารถประเมิน  เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน ได้ตามมาตรฐาน /

แนวทางที่กำหนดดูแล และบริหารยาที่ใช้ ทั่วไปตามที่ได้รับมอบหมายให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ / ผู้คลอด

ได้ ทั้งในรายปกติ และรายที่มีปัญหาไม่ซับซ้อนให้การช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีปกติ และในรายที่ไม่ซับ

ซ้อนได้

ระดับ3

มีความสามารถระดับ 2  และสามารถประเมิน  เฝ้าระวังภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน ที่พบบ่อยได้อย่าง

แม่นยำจัดการช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่พบความผิดปกติได้รวดเร็ว ทันเวลาให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ / ผู้

คลอด ทั้งในรายปกติ และรายที่มีปัญหาซับซ้อนที่พบบ่อยได้อย่างเจนดูแลผู้คลอดที่ได้รับการชักนำการ

คลอด และ และบริหารยา และสารละลายในระยะรอคลอดได้เหมาะสมสามารถประสานความร่วมมือกับ

ทีมสหสาขา และญาติผู้ป่วย เพื่อทำความเข้าใจ  ช่วยเหลือ  แก้ไข และป้องกันภาวะฉุกเฉิน

ระดับ4

แสดงความสามารถระดับ 3 และสามารถประเมินภาวะเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน ได้อย่างแม่นยำจัดการ

ช่วยเหลือเบื้องต้นได้รวดเร็วทันเวลาในรายที่มีปัญหา ซับซ้อน หรือยากลำบากต่อการดูแลเป็นที่ปรึกษา

กำกับ  ดูแล ให้ทีมการพยาบาลสามารถ ประเมิน  เฝ้าระวัง และจัดการดูแล ให้การพยาบาลผู้ใช้บริการ

เป็นไปได้อย่างปลอดภัย

ระดับ5

แสดงความสามารถระดับ 4   และสามารถพัฒนามาตรฐาน / แนวทางปฏิบัติ การประเมิน คัดกรองภาวะ

เสี่ยง และภาวะแทรกซ้อน  และการพยาบาลพัฒนาระบบปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ / ผู้

คลอด และความคุ้มค่าของระบบสุขภาพ




2.1   การบรรเทาอาการเจ็บครรภ์



เป้าหมาย

1.  ทีมการพยาบาลประเมินความปวด และช่วยเหลือบรรเทาอาการปวดทั้งวิธีการใช้ยา และไม่ใช้ยาได้

ถูกต้อง

2.  ผู้คลอดได้รับการเฝ้าระวังอาการข้างเคียง และภาวะ แทรกซ้อนจากการใช้ยาระงับปวดได้ถูกต้อง

3.  ผู้คลอดได้รับการจัดการความปวดอย่างต่อเนื่อง


ความรู้

1. กลไกความปวด

2. การเจ็บครรภ์ตามปกติ

3. วิธีการลดปวดโดยไม่ใช้ยา

4. วิธีการลดปวดด้วยยา และการบริหารยาลดปวด รวมเภสัชวิทยาของยาแต่ละตัว

5. วิธีการจัดการ ช่วยเหลือ  แก้ไขผลข้างเคียงของยาแต่ละชนิด


ทักษะ

1. การประเมินความเจ็บปวด

2. การแยกแยะอาการเจ็บครรภ์ที่ปกติ และผิดปกติ

3. การใช้วิธีการต่างๆ เพื่อลดปวด (เช่น การนวด  การสอนการหายใจ  การทำสมาธิ  การเปลี่ยนอิริยาบท)

4. การบริหารยาแก้ปวด

5. การสื่อสาร และให้ข้อมูลผู้คลอดและครอบครัว


ระดับและการอธิบาย


ระดับ1

สามารถปฏิบัติงานภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้าทีมในเรื่องการประเมินความเจ็บปวดในกรณีปกติ

บรรเทาอาการปวดโดยไม่ใช้ยาด้วยวิธีการเบื้องต้น ในหญิงตั้งครรภ์ปกติ

ระดับ2

มีความสามารถในระดับ 1 และสามารถประเมินความปวด และแยกแยะอาการผิดปกติที่เห็นชัดเจน

บรรเทาอาการปวดโดยไม่ใช้ยาด้วยวิธีการต่างๆ ตามแนวทางปฏิบัติบริหารยาที่ใช้บ่อยตามแนวทางที่

กำหนดได้ถูกต้อง

ระดับ3

มีความสามารถในระดับ 2 และสามารถประเมิน และแยกแยะความปวดที่ปกติ และผิดปกติได้อย่าง

แม่นยำสามารถใช้วิธีการลดปวดโดยไม่ใช้ยา ด้วยวิธีการที่หลากหลายบริหารยาที่ใช้บ่อยได้อย่างถูก

ต้อง และปลอดภัย

ระดับ4

มีความสามารถในระดับ 3 และ สามารถเป็นที่ปรึกษา  และช่วยเหลือการประเมินความปวดของทีมการ

พยาบาลใช้วิธีการจัดการความปวดได้หลากหลายในรายที่ยากลำบาก  ซับซ้อนเป็นที่ปรึกษา และจัดการ

บริหารยาในรายที่ยุ่งยากซับซ้อน ได้ปลอดภัย

ระดับ5

มีความสามารถในระดับ 4 และสามารถจัดทำ และเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาในการจัดทำมาตรฐาน / คู่มือ /

หลักสูตร และเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมทีมการพยาบาลในการประเมิน   การจัดการความปวด  และการ

บริหารยาที่ใช้ในระยะรอคลอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น